รีวิว Peninsula
Peninsula ได้แรงบันดาลใจและจะเป็นส่วนผสมของมาจากหนังหลังยุคโลกหายนะอย่างThe Road (2009) Mad Max: Fury Road (2015) หนังซอมบี้ของผู้กำกับในตำนาน George A. Romeo โดยจะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง Land of the Dead (2005) โดยจะนำเสนอความโกลาหลอย่างไม่หยุดหย่อนของเหล่าผีดิบในสถานการณ์สุดเขย่าขวัญ รวมไปถึงการ์ตูนอย่าง Akira and Dragon Headที่เป็นเป็นแรงบันดาลใจทั้งรูปลักษณ์และมุมมองของโลก รัฐบาลถูกทำลายย่อยยับหลังจากการจู่โจมและแพร่ระบาดของเหล่าซอมบี้ จึงเหลือแต่คาบสมุทรที่เป็นความหมายของชื่อเรื่องที่ชื่อ Peninsula ถ้าอย่างนั้นวันนี้ What The Fact ขอพาไปย้อนรอยหนังซอมบี้ในตำนานของ A. Romeo และหนังซอมบี้น่าดูเรื่องอื่น ๆ ซึ่งหลายเรื่องมีบน Netflix แล้ว
จุดเริ่มต้นตำนานสยองศพเดินได้ ซอมบี้
ที่มาที่ไปของหนังตระกูลซอมบี้ต้องย้อนไปจนถึงงานเขียนของนักเขียนนิยาย William Seabrook ที่นำประสบการณ์การเดินทางไปยังประเทศเฮติผสมกับเรื่องราวหมอผีมนต์ดำ เกิดการบัญญัติคำที่อธิบายถึงสิ่งที่เคยมีชีวิตหลังถูกปลุกขึ้นมาจากหลุมศพขึ้นมาเพื่อเป็นทาสรับใช้อย่าง ซอมบี้ ขึ้นเป็นครั้งแรก เขานำมาตัวละครนี้มาเขียนไว้ในนิยายเรื่อง The Magic Island เมื่อปี 1929 และต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจต่อหนังซอมบี้วูดูมากมายเช่น White Zombie (1932) ลักษณะของซอมบี้ในยุคนั้นจะเดินอย่างเชื่องช้าแต่มีพละกำลังมหาศาล ทำตามคำสั่งของผู้ที่ปลุกพวกมันขึ้นมาจนตายหรือเวทมนต์เสื่อมสลายไป
รีวิว Peninsula เนื้อเรื่อง
หนัง Peninsula เป็นหนังภาคต่อจากหนังซอมบี้เรื่องดัง Train to Busan โดยเป็นเหตุการณ์สี่ปีหลังจากไวรัสซอมบี้ระบาดในภาคแรก ตัวเอกคือจองซอก อดีตทหารที่มีความหลังสูญเสียพี่สาวและหลานชายไปในระหว่างที่พาพวกเขาหนีจากเกาหลีมาที่ฮ่องกง ทำให้เขาเหลือญาติเพียงคนเดียว คือพี่เขย ที่มีบาดแผลในจิตใจมากไม่แพ้กัน ชีวิตของจองซอกในฮ่องกงเป็นเสมือนคนนอกที่ไม่เป็นที่ต้อนรับ
ในหนัง Train to Busan: Peninsula มีเหตุผลว่าเพราะทุกคนล้วนเห็นว่าคนที่มาจากคาบสมุทร (peninsula) เกาหลีล้วนเป็นตัวสกปรกที่อาจนำไวรัสมาติดคนอื่นได้ เขาใช้ชีวิตอย่างไม่มีจุดหมาย จนวันหนึ่ง มีนายทุนมาเสนอให้เขากลับเข้าไปในเกาหลีเพื่อขับรถบรรทุกขนเงิน 20 ล้านเหรียญขึ้นเรือกลับมา ด้วยความที่เขาเองก็ไม่แน่ใจกับอนาคตผู้ลี้ภัยของตัวเอง เขาจึงรับงานนี้พร้อมพี่เขยและคนเกาหลีอีกสองคน โดยไม่รู้เลยว่างานนี้จะหินกว่าที่คิด
ตัวหนัง Train to Busan: Peninsula ใส่ปมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เข้ามาหลายจุด ทำให้มีความดราม่ามากตามรอยต้นฉบับ Train To Busan ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในอดีตที่จองซอกเคยขับรถผ่านมินจองและครอบครัวที่ขอความช่วยเหลือให้พาลูกของเขาหนีจากซอมบี้ โดยที่จองซอกปฏิเสธที่จะช่วยเหลือครอบครัวนี้ แต่กลับกลายเป็นว่าภายหลัง จุนอี ลูกของมินจองได้ช่วยเหลือเขาไว้ตอนที่เขาเกือบจะไม่รอด ทำให้จองซอกรู้สึกติดค้างหนี้บุญคุณครอบครัวนี้
มีเรื่องราวของความหวัง เช่นการที่ตาของจุนอีพยายามวิทยุติดต่อกับคนนอกให้เข้ามาช่วย โดยที่ทุกคนต่างรู้ว่าเขาเพียงเพี้ยนไป เพราะเกาหลีถูกมนุษยชาติหรือแม้กระทั่งพระเจ้าทอดทิ้งแล้ว มีเรื่องของสายสัมพันธ์ระหว่างเขาและพี่เขย ซึ่งแม้ภายหลังจะพูดกันดีๆไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นห่วงกันอยู่ห่างๆ หรือความรักระหว่างแม่กับลูกที่เป็นจุดขยี้อารมณ์ในตอนท้ายของหนัง Train to Busan: Peninsula ซึ่งอาจเรียกน้ำตาจากหลายคนได้ทีเดียว
จุดที่น่ากลัวที่สุดในหนัง Train to Busan: Peninsula ไม่ใช่ซอมบี้ แต่เป็นมนุษย์ด้วยกันเอง โดยหนังได้ใส่กองกำลังที่ 631 ซึ่งเป็นหน่วยรบเถื่อนเข้ามาในเรื่อง ทำให้เห็นความโหดร้ายของสิ่งที่มนุษย์ทำต่อกันได้ หน่วยรบนี้บัญชาการโดยหัวหน้าซอ ผู้เห็นแก่ตัว และมีนักรบคนสำคัญคือจ่าฮวัง ผู้โหดเหี้ยมและสะใจกับการใช้มนุษย์เป็นของเล่น มีการสร้างเกม “เล่นซ่อนแอบ”
ซึ่งใช้เชลยที่ถูกจับเป็นเหยื่อล่อซอมบี้และให้ทุกคนวิ่งหนีเอาตัวรอด การพ่นสีสเปรย์ลงบนร่างของเชลยเป็นเสมือนการลดทอนความเป็นมนุษย์ ทำให้มีสภาพไม่ต่างจากสิ่งของ หรือเป็นทาส โดยลบชื่อเสียงเรียงนามออกไปทั้งหมดและให้คนจำได้เพียงตัวเลข และเชลยทุกคนก็หมดหวังที่จะใช้ชีวิตต่อไปเพราะพวกเขารู้ว่าไม่ช้าก็เร็วพวกเขาก็จะต้องตายอยู่ดี ดั่งที่ในหนัง Train to Busan: Peninsula ได้บอกไว้
ในพล็อตของกองกำลัง 631 นี้ หนัง Train to Busan: Peninsula สร้างความตึงเครียดได้ค่อนข้างดี โดยมีฉากอารมณ์อยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้คนดูลุ้นตามว่าคนในหน่วยจะจับโกหกหัวหน้าซอ ผู้มีแผนหลบหนีไปจากเกาหลีได้หรือไม่ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งฉากที่ทำให้คนดูเหงื่อตกและรู้สึกเสียวสันหลังเลยทีเดียว หนังเล่าถึงตัวละครโดยแบ่งเป็นคนดีและคนชั่วตามสูตรสำเร็จอย่างชัดเจน โดยวางพล็อตให้คนชั่วไม่ไว้ใจกันเอง ในขณะที่คนดีทำงานกันเป็นทีมและช่วยเหลือกัน
อย่างไรก็ตาม ในหนัง Train to Busan: Peninsula หลายคนอาจคิดว่าความน่ากลัวของซอมบี้ถูกลดทอนลงไปหน่อยและไม่ค่อยมีจุดที่ลุ้นระทึกในแง่การเอาตัวรอดจากซอมบี้มากเท่าใดนัก แต่จะเป็นการเอาตัวรอดจากมนุษย์ด้วยกันมากกว่า ซึ่งจุดนี้อาจทำให้หลายคนไม่ประทับใจหนังภาคนี้เท่ากับภาคแรก
อย่างไรก็ตาม ในหนัง Train to Busan: Peninsula ฉากขับรถไล่ล่าที่ยาวกว่า 20 นาทีเป็นจุดหนึ่งที่เด่นของหนัง และฉากแอ็คชันก็ทำได้อย่างลื่นไหล ทำให้คนดูรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเรื่องจริงๆ กล่าวได้ว่าในเรื่องความมันส์ หนังขายตรงจุดนี้ได้ดี อาจมีจุดติเล็กน้อยคือเรื่อง CG ในบางฉากที่ดูลอยและไม่สมจริงมากเกินไปหน่อย
ปมท้ายสุดของหนัง Train to Busan: Peninsula ขมวดได้ดี นั่นคือ แม้มนุษย์จะเป็นต้นเหตุของความชั่วร้ายทุกอย่าง แต่มนุษย์ก็เป็นคนที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และทำให้โลกนี้ยังมีความหวังอยู่ แม้จะต้องอยู่ร่วมกับความชั่วร้ายซึ่งเป็นภัยคุกคามหนึ่งของสังคมยุคปัจจุบัน
ต้องยอมรับกันล่ะว่าหนังซอมบี้ที่เหมือนจะตายไปจากตลาดหลายรอบก็กลับมามีผลงานเด่น ๆ ได้เสมอ ด้วยความที่หนังซอมบี้เป็นพื้นที่ให้พูดเรื่องการเมืองและความฉ้อฉลโสมมของมนุษย์ได้ดีที่สุด และสำหรับประเทศเกาหลีใต้เองก็เคยส่ง Train to Busan หนังซอมบี้วิพากษ์การทำงานของรัฐบาลและพูดถึงสังคมเกาหลีในโบกี้รถไฟไปปูซานที่ดันมีซอมบี้หลุดเข้าไปในขบวนรถไฟแคบ ๆ สร้างความคึกคักให้หนังตระกูลซอมบี้ได้อักโข และคราวนี้ ฮยอนซังโฮ ผู้กำกับ Train To Busan ก็ไม่รอช้าที่จะสานต่อความสำเร็จด้วย Peninsula หนังซอมบี้โลกอนาคต Dystopia หรืออนาคตอันมืดหม่นมาลงตลาดในปีนี้
โดย Peninsula จะเล่าถึงช่วงเวลา 4 ปีหลังเหตุการณ์จาก Train to Busan โดยคาบสมุทรเกาหลีทั้งเหนือและใต้เต็มไปด้วยผู้ติดเชื้อจนทางการต้องสั่งอพยพประชากรออกจากคาบสมุทรเกาหลี และหนึ่งในผู้รอดชีวิตที่กลายเป็นศูนย์กลางของเรื่องก็ได้แก่ จองซอก (คังดงวอน) ทหารเกาหลีใต้ที่ไม่อาจรักษาชีวิตพี่สาวตัวเองไว้ได้ เขาจำต้องหอบความผิดบาปและพี่เขยที่แทบใช้ชีวิตแบบหายใจทิ้งไปวัน ๆ ไปยังฮ่องกงเพื่อเอาชีวิตรอด แต่แล้วก็มีเหตุให้ทั้งคู่ต้องกลับไปยังคาบสมุทรเกาหลีอีกครั้ง
โดยข้อเสนอจากนักเลงที่ฮ่องกงคือกลับยังเกาหลีเพื่อขับรถขนเงินมูลค่า 20 ล้านเหรียญกลับมาคืนพวกมัน โดยมีเงินส่วนแบ่งคนละ 2.5 ล้านเหรียญเป็นเงินรางวัล งานนี้จองซอกและพี่เขยพร้อมคนเกาหลีอีก 2 คนจำต้องกลับไปผจญเหล่าซอมบี้อีกครั้ง โดยหารู้ไม่ว่าตอนนี้เกาหลีได้กลายเป็นเมืองผุพังที่มีมนุษย์น่ากลัวกว่าผู้ติดเชื้อเสียอีก แถมชะตากรรมยังทำให้จองซอกต้องกลับไปเผชิญหน้ากับความผิดบาปในอดีตอีกครั้ง
หากจะให้จำกัดความ Peninsula ของฮยอนซังโฮก็คงต้องบอกว่ามันคือหนัง Mad Max ที่พยายามจะขายความดิบเถื่อนและความเสื่อมทรามของมนุษย์ แถมยังยืดอกรับเต็มปากว่าฉากแอ็กชันท้ายเรื่องตัวเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก Mad Max Fury Road เต็ม ๆ ส่งผลให้ซอมบี้กลายเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งที่พูดถึงความเสื่อมโทรมเน่าเฟะของมนุษย์และเป็นตัวเปรียบเทียบความน่ากลัวที่ทำให้เห็นว่ามนุษย์และการพยายามเอาตัวรอดก่อให้เกิดความน่ากลัวต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะกีฬามนุษย์หนีซอมบี้ที่กลายเป็นความบันเทิงอำมหิตให้กับบรรดามาเฟียที่ตั้งตนเป็นใหญ่ในดินแดนเสื่อมโทรม
แต่กระนั้นการพลิกแนวของฮยอนซังโฮกลับกลายเป็นดาบ 2 คมอย่างช่วยไม่ได้ เพราะในเมื่อหนังโปรโมตตัวเองให้อยู่ในตระกูลหนังซอมบี้และวางตัวเองเป็นภาคต่อ Train to Busan ดังนั้นตัวหนังเลยออกมาผิดความคาดหวังของคนดูแน่นอน งานนี้นอกจากตัวซอมบี้จะไม่ได้น่ากลัวหรือสร้างความตื่นเต้นและมีบทบาทสำคัญเหมือนหนังภาคแรกแล้ว การเป็นหนังภาคต่อก็ไม่ได้ต่อยอดประเด็นหรือชะตากรรมตัวละครที่คนดูให้ใจไปกับหนังภาคแรกอีกด้วย
แม้ตัวหนังจะมีประเด็นน่าสนใจไม่น้อยโดยเฉพาะการเอาเกาหลีมาเปรียบกับจีนในฐานะประเทศต้นทางของเชื้อโรคร้ายในโลกของหนังเทียบกับความเป็นจริง อีกทั้งยังมีฉากที่แสดงให้เห็นว่าคนเกาหลีก็ถูกรังเกียจและไม่มีใครรับเป็นผู้ลี้ภัยประหนึ่งจะโยงมายังวิกฤติ COVID-19 ให้ได้ แต่ประเด็นนี้ก็ถูกพูดถึงแบบผ่าน ๆ จนไม่เหลือความสำคัญต่อเรื่องเท่าใดนัก
แต่บาดแผลสำคัญที่เหวอะหวะยิ่งกว่าหนังหน้าของผีดิบก็คงหนีไม่พ้นการดีไซน์ตัวละครนี่แหละครับ โดยเฉพาะตัว จองซอก ของพระเอกหน้าหล่ออย่าง คังดงวอน ที่ไม่ได้สร้างความผูกพันเหมือนคุณพ่อ กงยู จากหนังภาคแรกได้แม้แต่น้อย ด้วยการที่หนังเล่นนำเสนอภาพความอ่อนแอปวกเปียกในการช่วยเหลือพี่สาวและอาการเหม่อลอยแบบไม่มีที่มาที่ไป แถมยังพยายามขยี้ไอ้อาการบาปที่ติดตัวนี้อีก ทั้งที่คนดูก็ไม่ได้รู้สึกว่า อีตัวพี่สาวมันน่าช่วยเหลือตรงไหนเลยจนทำให้ประเด็นดราม่ามันน่ารำคาญมากไปหน่อย
หรือจะเป็นประเด็นครอบครัวที่พอจองซอกต้องกลับมาเผชิญหน้ากับหญิงสาวที่เขาเคยเพิกเฉยขับรถผ่านตอนพาพี่สาวและพี่เขยหนี ประหนึ่งจะให้เป็นโอกาสที่สองที่ทำให้เขาได้มาไถ่บาปก็ดูพังพินาศมาก แม้จะมีตัวละครสองพี่น้องที่ดูมีสีสันหน่อยก็เถอะ แต่ให้ตายสิ! ทั้งเรื่องนางจะขับรถชนซอมบี้แบบแทบไม่บุบสลายไปอย่างนี้ตลอดจริง ๆ เหรอ ไหนล่ะความน่ากลัว? ไหนล่ะฉากหนีตายซอมบี้? ไม่เหลืออะไรให้ลุ้นกันเลย
หากเราเข้าไปดู Peninsula แบบไม่คาดหวังว่ามันจะเป็นภาคต่อของ Train to Busan ก็อาจจะพอสนุกกับหนังไปได้นะครับ อย่างน้อยหนังก็มีฉากแอ็กชันตูมตามคอยมาเอ็นเตอร์เทนคนดูอยู่เป็นระยะ ๆ แต่พอหนังดันเอาชื่อ Train to Busan มาขายและพยายามเหลือเกินที่จะโยงให้มันเป็นภาคต่อกันทั้งที่จริงสิ่งเดียวเลยที่เชื่อมทั้งสองเรื่องก็แค่ต้นเหตุที่ทำให้เกาหลีเต็มไปด้วยซอมบี้เท่านั้นเอง แต่นอกนั้นมันคือหนังคนละม้วนกันเลย
Peninsula ได้แรงบันดาลใจและจะเป็นส่วนผสมของมาจากหนังหลังยุคโลกหายนะอย่างThe Road (2009) Mad Max: Fury Road (2015) หนังซอมบี้ของผู้กำกับในตำนาน George A. Romeo โดยจะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง Land of the Dead (2005) โดยจะนำเสนอความโกลาหลอย่างไม่หยุดหย่อนของเหล่าผีดิบในสถานการณ์สุดเขย่าขวัญ รวมไปถึงการ์ตูนอย่าง Akira and Dragon Headที่เป็นเป็นแรงบันดาลใจทั้งรูปลักษณ์และมุมมองของโลก รัฐบาลถูกทำลายย่อยยับหลังจากการจู่โจมและแพร่ระบาดของเหล่าซอมบี้ จึงเหลือแต่คาบสมุทรที่เป็นความหมายของชื่อเรื่องที่ชื่อ Peninsula ถ้าอย่างนั้นวันนี้ What The Fact ขอพาไปย้อนรอยหนังซอมบี้ในตำนานของ A. Romeo และหนังซอมบี้น่าดูเรื่องอื่น ๆ ซึ่งหลายเรื่องมีบน Netflix แล้ว
จุดเริ่มต้นตำนานสยองศพเดินได้ ซอมบี้
ที่มาที่ไปของหนังตระกูลซอมบี้ต้องย้อนไปจนถึงงานเขียนของนักเขียนนิยาย William Seabrook ที่นำประสบการณ์การเดินทางไปยังประเทศเฮติผสมกับเรื่องราวหมอผีมนต์ดำ เกิดการบัญญัติคำที่อธิบายถึงสิ่งที่เคยมีชีวิตหลังถูกปลุกขึ้นมาจากหลุมศพขึ้นมาเพื่อเป็นทาสรับใช้อย่าง ซอมบี้ ขึ้นเป็นครั้งแรก เขานำมาตัวละครนี้มาเขียนไว้ในนิยายเรื่อง The Magic Island เมื่อปี 1929 และต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจต่อหนังซอมบี้วูดูมากมายเช่น White Zombie (1932) ลักษณะของซอมบี้ในยุคนั้นจะเดินอย่างเชื่องช้าแต่มีพละกำลังมหาศาล ทำตามคำสั่งของผู้ที่ปลุกพวกมันขึ้นมาจนตายหรือเวทมนต์เสื่อมสลายไป
รีวิว Peninsula เนื้อเรื่อง
หนัง Peninsula เป็นหนังภาคต่อจากหนังซอมบี้เรื่องดัง Train to Busan โดยเป็นเหตุการณ์สี่ปีหลังจากไวรัสซอมบี้ระบาดในภาคแรก ตัวเอกคือจองซอก อดีตทหารที่มีความหลังสูญเสียพี่สาวและหลานชายไปในระหว่างที่พาพวกเขาหนีจากเกาหลีมาที่ฮ่องกง ทำให้เขาเหลือญาติเพียงคนเดียว คือพี่เขย ที่มีบาดแผลในจิตใจมากไม่แพ้กัน ชีวิตของจองซอกในฮ่องกงเป็นเสมือนคนนอกที่ไม่เป็นที่ต้อนรับ
ในหนัง Train to Busan: Peninsula มีเหตุผลว่าเพราะทุกคนล้วนเห็นว่าคนที่มาจากคาบสมุทร (peninsula) เกาหลีล้วนเป็นตัวสกปรกที่อาจนำไวรัสมาติดคนอื่นได้ เขาใช้ชีวิตอย่างไม่มีจุดหมาย จนวันหนึ่ง มีนายทุนมาเสนอให้เขากลับเข้าไปในเกาหลีเพื่อขับรถบรรทุกขนเงิน 20 ล้านเหรียญขึ้นเรือกลับมา ด้วยความที่เขาเองก็ไม่แน่ใจกับอนาคตผู้ลี้ภัยของตัวเอง เขาจึงรับงานนี้พร้อมพี่เขยและคนเกาหลีอีกสองคน โดยไม่รู้เลยว่างานนี้จะหินกว่าที่คิด
ตัวหนัง Train to Busan: Peninsula ใส่ปมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เข้ามาหลายจุด ทำให้มีความดราม่ามากตามรอยต้นฉบับ Train To Busan ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในอดีตที่จองซอกเคยขับรถผ่านมินจองและครอบครัวที่ขอความช่วยเหลือให้พาลูกของเขาหนีจากซอมบี้ โดยที่จองซอกปฏิเสธที่จะช่วยเหลือครอบครัวนี้ แต่กลับกลายเป็นว่าภายหลัง จุนอี ลูกของมินจองได้ช่วยเหลือเขาไว้ตอนที่เขาเกือบจะไม่รอด ทำให้จองซอกรู้สึกติดค้างหนี้บุญคุณครอบครัวนี้
มีเรื่องราวของความหวัง เช่นการที่ตาของจุนอีพยายามวิทยุติดต่อกับคนนอกให้เข้ามาช่วย โดยที่ทุกคนต่างรู้ว่าเขาเพียงเพี้ยนไป เพราะเกาหลีถูกมนุษยชาติหรือแม้กระทั่งพระเจ้าทอดทิ้งแล้ว มีเรื่องของสายสัมพันธ์ระหว่างเขาและพี่เขย ซึ่งแม้ภายหลังจะพูดกันดีๆไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นห่วงกันอยู่ห่างๆ หรือความรักระหว่างแม่กับลูกที่เป็นจุดขยี้อารมณ์ในตอนท้ายของหนัง Train to Busan: Peninsula ซึ่งอาจเรียกน้ำตาจากหลายคนได้ทีเดียว
ความรู้สึกหลังดูจบ
จุดที่น่ากลัวที่สุดในหนัง Train to Busan: Peninsula ไม่ใช่ซอมบี้ แต่เป็นมนุษย์ด้วยกันเอง โดยหนังได้ใส่กองกำลังที่ 631 ซึ่งเป็นหน่วยรบเถื่อนเข้ามาในเรื่อง ทำให้เห็นความโหดร้ายของสิ่งที่มนุษย์ทำต่อกันได้ หน่วยรบนี้บัญชาการโดยหัวหน้าซอ ผู้เห็นแก่ตัว และมีนักรบคนสำคัญคือจ่าฮวัง ผู้โหดเหี้ยมและสะใจกับการใช้มนุษย์เป็นของเล่น มีการสร้างเกม “เล่นซ่อนแอบ”
ซึ่งใช้เชลยที่ถูกจับเป็นเหยื่อล่อซอมบี้และให้ทุกคนวิ่งหนีเอาตัวรอด การพ่นสีสเปรย์ลงบนร่างของเชลยเป็นเสมือนการลดทอนความเป็นมนุษย์ ทำให้มีสภาพไม่ต่างจากสิ่งของ หรือเป็นทาส โดยลบชื่อเสียงเรียงนามออกไปทั้งหมดและให้คนจำได้เพียงตัวเลข และเชลยทุกคนก็หมดหวังที่จะใช้ชีวิตต่อไปเพราะพวกเขารู้ว่าไม่ช้าก็เร็วพวกเขาก็จะต้องตายอยู่ดี ดั่งที่ในหนัง Train to Busan: Peninsula ได้บอกไว้
ในพล็อตของกองกำลัง 631 นี้ หนัง Train to Busan: Peninsula สร้างความตึงเครียดได้ค่อนข้างดี โดยมีฉากอารมณ์อยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้คนดูลุ้นตามว่าคนในหน่วยจะจับโกหกหัวหน้าซอ ผู้มีแผนหลบหนีไปจากเกาหลีได้หรือไม่ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งฉากที่ทำให้คนดูเหงื่อตกและรู้สึกเสียวสันหลังเลยทีเดียว หนังเล่าถึงตัวละครโดยแบ่งเป็นคนดีและคนชั่วตามสูตรสำเร็จอย่างชัดเจน โดยวางพล็อตให้คนชั่วไม่ไว้ใจกันเอง ในขณะที่คนดีทำงานกันเป็นทีมและช่วยเหลือกัน
อย่างไรก็ตาม ในหนัง Train to Busan: Peninsula หลายคนอาจคิดว่าความน่ากลัวของซอมบี้ถูกลดทอนลงไปหน่อยและไม่ค่อยมีจุดที่ลุ้นระทึกในแง่การเอาตัวรอดจากซอมบี้มากเท่าใดนัก แต่จะเป็นการเอาตัวรอดจากมนุษย์ด้วยกันมากกว่า ซึ่งจุดนี้อาจทำให้หลายคนไม่ประทับใจหนังภาคนี้เท่ากับภาคแรก
อย่างไรก็ตาม .ในหนัง Train to Busan: Peninsula ฉากขับรถไล่ล่าที่ยาวกว่า 20 นาทีเป็นจุดหนึ่งที่เด่นของหนัง และฉากแอ็คชันก็ทำได้อย่างลื่นไหล ทำให้คนดูรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเรื่องจริงๆ กล่าวได้ว่าในเรื่องความมันส์ หนังขายตรงจุดนี้ได้ดี อาจมีจุดติเล็กน้อยคือเรื่อง CG ในบางฉากที่ดูลอยและไม่สมจริงมากเกินไปหน่อย
ปมท้ายสุดของหนัง Train to Busan: Peninsula ขมวดได้ดี นั่นคือ แม้มนุษย์จะเป็นต้นเหตุของความชั่วร้ายทุกอย่าง แต่มนุษย์ก็เป็นคนที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และทำให้โลกนี้ยังมีความหวังอยู่ แม้จะต้องอยู่ร่วมกับความชั่วร้ายซึ่งเป็นภัยคุกคามหนึ่งของสังคมยุคปัจจุบัน
ต้องยอมรับกันล่ะว่าหนังซอมบี้ที่เหมือนจะตายไปจากตลาดหลายรอบก็กลับมามีผลงานเด่น ๆ ได้เสมอ ด้วยความที่หนังซอมบี้เป็นพื้นที่ให้พูดเรื่องการเมืองและความฉ้อฉลโสมมของมนุษย์ได้ดีที่สุด และสำหรับประเทศเกาหลีใต้เองก็เคยส่ง Train to Busan หนังซอมบี้วิพากษ์การทำงานของรัฐบาลและพูดถึงสังคมเกาหลีในโบกี้รถไฟไปปูซานที่ดันมีซอมบี้หลุดเข้าไปในขบวนรถไฟแคบ ๆ สร้างความคึกคักให้หนังตระกูลซอมบี้ได้อักโข และคราวนี้ ฮยอนซังโฮ ผู้กำกับ Train To Busan ก็ไม่รอช้าที่จะสานต่อความสำเร็จด้วย Peninsula หนังซอมบี้โลกอนาคต Dystopia หรืออนาคตอันมืดหม่นมาลงตลาดในปีนี้
โดย Peninsula จะเล่าถึงช่วงเวลา 4 ปีหลังเหตุการณ์จาก Train to Busan โดยคาบสมุทรเกาหลีทั้งเหนือและใต้เต็มไปด้วยผู้ติดเชื้อจนทางการต้องสั่งอพยพประชากรออกจากคาบสมุทรเกาหลี และหนึ่งในผู้รอดชีวิตที่กลายเป็นศูนย์กลางของเรื่องก็ได้แก่ จองซอก (คังดงวอน) ทหารเกาหลีใต้ที่ไม่อาจรักษาชีวิตพี่สาวตัวเองไว้ได้ เขาจำต้องหอบความผิดบาปและพี่เขยที่แทบใช้ชีวิตแบบหายใจทิ้งไปวัน ๆ ไปยังฮ่องกงเพื่อเอาชีวิตรอด แต่แล้วก็มีเหตุให้ทั้งคู่ต้องกลับไปยังคาบสมุทรเกาหลีอีกครั้ง
โดยข้อเสนอจากนักเลงที่ฮ่องกงคือกลับยังเกาหลีเพื่อขับรถขนเงินมูลค่า 20 ล้านเหรียญกลับมาคืนพวกมัน โดยมีเงินส่วนแบ่งคนละ 2.5 ล้านเหรียญเป็นเงินรางวัล งานนี้จองซอกและพี่เขยพร้อมคนเกาหลีอีก 2 คนจำต้องกลับไปผจญเหล่าซอมบี้อีกครั้ง โดยหารู้ไม่ว่าตอนนี้เกาหลีได้กลายเป็นเมืองผุพังที่มีมนุษย์น่ากลัวกว่าผู้ติดเชื้อเสียอีก แถมชะตากรรมยังทำให้จองซอกต้องกลับไปเผชิญหน้ากับความผิดบาปในอดีตอีกครั้ง
หากจะให้จำกัดความ Peninsula ของฮยอนซังโฮก็คงต้องบอกว่ามันคือหนัง Mad Max ที่พยายามจะขายความดิบเถื่อนและความเสื่อมทรามของมนุษย์ แถมยังยืดอกรับเต็มปากว่าฉากแอ็กชันท้ายเรื่องตัวเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก Mad Max Fury Road เต็ม ๆ ส่งผลให้ซอมบี้กลายเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งที่พูดถึงความเสื่อมโทรมเน่าเฟะของมนุษย์และเป็นตัวเปรียบเทียบความน่ากลัวที่ทำให้เห็นว่ามนุษย์และการพยายามเอาตัวรอดก่อให้เกิดความน่ากลัวต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะกีฬามนุษย์หนีซอมบี้ที่กลายเป็นความบันเทิงอำมหิตให้กับบรรดามาเฟียที่ตั้งตนเป็นใหญ่ในดินแดนเสื่อมโทรม
แต่กระนั้นการพลิกแนวของฮยอนซังโฮกลับกลายเป็นดาบ 2 คมอย่างช่วยไม่ได้ เพราะในเมื่อหนังโปรโมตตัวเองให้อยู่ในตระกูลหนังซอมบี้และวางตัวเองเป็นภาคต่อ Train to Busan ดังนั้นตัวหนังเลยออกมาผิดความคาดหวังของคนดูแน่นอน งานนี้นอกจากตัวซอมบี้จะไม่ได้น่ากลัวหรือสร้างความตื่นเต้นและมีบทบาทสำคัญเหมือนหนังภาคแรกแล้ว การเป็นหนังภาคต่อก็ไม่ได้ต่อยอดประเด็นหรือชะตากรรมตัวละครที่คนดูให้ใจไปกับหนังภาคแรกอีกด้วย
แม้ตัวหนังจะมีประเด็นน่าสนใจไม่น้อยโดยเฉพาะการเอาเกาหลีมาเปรียบกับจีนในฐานะประเทศต้นทางของเชื้อโรคร้ายในโลกของหนังเทียบกับความเป็นจริง อีกทั้งยังมีฉากที่แสดงให้เห็นว่าคนเกาหลีก็ถูกรังเกียจและไม่มีใครรับเป็นผู้ลี้ภัยประหนึ่งจะโยงมายังวิกฤติ COVID-19 ให้ได้ แต่ประเด็นนี้ก็ถูกพูดถึงแบบผ่าน ๆ จนไม่เหลือความสำคัญต่อเรื่องเท่าใดนัก
แต่บาดแผลสำคัญที่เหวอะหวะยิ่งกว่าหนังหน้าของผีดิบก็คงหนีไม่พ้นการดีไซน์ตัวละครนี่แหละครับ โดยเฉพาะตัว จองซอก ของพระเอกหน้าหล่ออย่าง คังดงวอน ที่ไม่ได้สร้างความผูกพันเหมือนคุณพ่อ กงยู จากหนังภาคแรกได้แม้แต่น้อย ด้วยการที่หนังเล่นนำเสนอภาพความอ่อนแอปวกเปียกในการช่วยเหลือพี่สาวและอาการเหม่อลอยแบบไม่มีที่มาที่ไป แถมยังพยายามขยี้ไอ้อาการบาปที่ติดตัวนี้อีก ทั้งที่คนดูก็ไม่ได้รู้สึกว่า อีตัวพี่สาวมันน่าช่วยเหลือตรงไหนเลยจนทำให้ประเด็นดราม่ามันน่ารำคาญมากไปหน่อย
หรือจะเป็นประเด็นครอบครัวที่พอจองซอกต้องกลับมาเผชิญหน้ากับหญิงสาวที่เขาเคยเพิกเฉยขับรถผ่านตอนพาพี่สาวและพี่เขยหนี ประหนึ่งจะให้เป็นโอกาสที่สองที่ทำให้เขาได้มาไถ่บาปก็ดูพังพินาศมาก แม้จะมีตัวละครสองพี่น้องที่ดูมีสีสันหน่อยก็เถอะ แต่ให้ตายสิ! ทั้งเรื่องนางจะขับรถชนซอมบี้แบบแทบไม่บุบสลายไปอย่างนี้ตลอดจริง ๆ เหรอ ไหนล่ะความน่ากลัว? ไหนล่ะฉากหนีตายซอมบี้? ไม่เหลืออะไรให้ลุ้นกันเลย
หากเราเข้าไปดู Peninsula แบบไม่คาดหวังว่ามันจะเป็นภาคต่อของ Train to Busan ก็อาจจะพอสนุกกับหนังไปได้นะครับ อย่างน้อยหนังก็มีฉากแอ็กชันตูมตามคอยมาเอ็นเตอร์เทนคนดูอยู่เป็นระยะ ๆ แต่พอหนังดันเอาชื่อ Train to Busan มาขายและพยายามเหลือเกินที่จะโยงให้มันเป็นภาคต่อกันทั้งที่จริงสิ่งเดียวเลยที่เชื่อมทั้งสองเรื่องก็แค่ต้นเหตุที่ทำให้เกาหลีเต็มไปด้วยซอมบี้เท่านั้นเอง แต่นอกนั้นมันคือหนังคนละม้วนกันเลย