รีวิวหนังผี Psycho

35| Psycho (1960) - A-BELLAMY | วิจารณ์หนัง,รีวิวหนัง,วิเคราะห์หนัง

สิ่งที่ทำให้ Psycho เป็นอมตะ คือ ความกลัวของมนุษย์ที่ปรากฎอยู่ในหนัง กลัวที่จะกระทำความผิด, กลัวที่ใครอื่นจะล่วงรู้, กลัวจะถูกฆ่า และกลัวจะทำให้คนอื่นผิดหวัง ฯ เมื่อมนุษย์เกิดความกลัวต่ออะไรสักอย่าง จะจดจำสิ่งนั้นฝังลึกในใจไม่ลืมเลือน เช่นกันกับหนังเรื่องนี้ ใครกันจะกล้าลืม Psycho ผลงาน Masterpiece ของ Alfred Hitchcock, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” รีวิวหนังผี Psycho รีวิวหนังผี

สำหรับคอหนังไม่ว่ายุคสมัยไหน คงไม่มีใครไม่รู้จัก Psycho หนังที่ได้รับการกล่าวขาน กล่าวขวัญ พูดถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก, ผมรู้จักหนังเรื่องนี้ว่าไปก่อนหน้าชื่อ Alfred Hitchcock เสียอีก ดูไปกี่รอบไม่เคยนับ แต่ก็ไม่มีรอบไหนที่ดูแล้วจะชอบหนังเรื่องนี้เลย เหตุผลก็คือ ความรุนแรงและไม่เข้าใจว่ามันยอดเยี่ยมยังไง, นี่ไม่น่าแปลกใจนัก ยุคสมัยนี้มากมายเต็มไปหมด กับหนังที่มีเรื่องราวเชิงจิตวิทยา

นำเสนอความผิดปกติของจิตมนุษย์ หรือหนังแนวฆาตกรรมที่แฝงความรุนแรง เห็นมีดแทงเข้าเนื้อเลือดไหลเป็นทาง ความเคยชินกลายเป็นชินชาจนเพิกเฉยไม่รู้สึกอะไร และแทบทั้งนั้น ทุกผู้ทุกคนจะดูหนังลักษณะพวกนี้มาก่อน Psycho เสมอ, มันเลยเป็นไปไม่ได้ ที่ใครจะเข้าใจความยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ของหนัง ณ ขณะที่ฉาย เพราะ Psycho คือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งอย่างที่ผมเล่ามา มันสมบูรณ์แบบ ณ ขณะที่ฉาย ปัจจุบันอาจดูเชย ล้าสมัย แต่นี่คือความคลาสสิกและอมตะ ที่มีค่าขนาด “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เว็บดูหนัง

กับคนที่อยากดูหนังเรื่องนี้ให้เข้าใจว่าหนังยิ่งใหญ่ยังไง คุณต้องสามารถเข้าใจความรู้สึกหนึ่งได้ก่อน นั่นคือ ‘คุณค่าของสิ่งที่สร้างขึ้นครั้งแรกของโลก’ ผมยกตัวอย่าง ให้ลองสมมติตัวเองเป็น โทมัส เอดิสันขณะสร้างหลอดไฟดวงแรกสำเร็จ, ไอน์สไตล์ขณะค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ, หรือขณะอาร์คิมิดีส ร้อง ยูเรก้า แล้ววิ่งแก้ผ้าไปหาพระราชา ฯ

ลองสมมติตัวเองเป็นคนที่มีชีวิตอยู่ในปี 1960 ไม่เคยดูหนังที่มีเรื่องราวเชิงจิตวิทยา หรือแนวฆาตกรรมเลือดสาดมาก่อน อะไรที่เคยจดจำได้ ลืมมันเสียให้หมด สวมหัวโขนเป็นเด็กเกิดใหม่ ไม่รู้ไม่คิดอะไร เชื่อว่าถ้าคุณทำได้ ขณะดูหนังเรื่องนี้จะอึ้ง ทึ่ง ช็อค อ้าปากค้าง มือสั่น ปากสั่น สะท้านด้วยความกลัว เมื่อนั้นแหละคุณจะเข้าใจ ว่าทำไมหนังเรื่องนี้กลายเป็นอมตะ หนังใหม่

รีวิวหนังผี Psycho

Psycho review – well worth getting scared in the shower all over again |  Movies | The Guardian

ผมไม่ได้สร้างสถานการณ์นี้ให้กับตัวเองขณะดูหนังนะครับ แต่ผมสามารถจินตนาการตาม และเข้าใจความรู้สึกของคนยุคนั้นได้ (นี่จะเป็นกับคนที่ดูหนังมาเยอะๆ และเข้าใจเทคนิคกระบวนการสร้างของภาพยนตร์) นี่ไม่ใช่ทางลัดที่จะทำให้คุณเข้าใจหนังเรื่องนี้ เพราะต้องอาศัยประสบการณ์ ระยะเวลา รักหนังมากๆ บ้าหนังสุดๆ และการคิดวิเคราะห์อย่างหนัก, ก็คิดดูว่า ผมดูหนังเรื่องนี้มาน่าจะเกิน 10 รอบ เว็บดูหนังฟรี

ไม่เคยชอบหรือมีอะไรประทับใจ จดจำไว้เลย กลับมาดูครั้งนี้ ค่าประสบการณ์เต็มหลอด เห้ย! ชอบว่ะ เห็นและเข้าใจความสวยงาม ความยอดเยี่ยม และหนังมี impact ที่สร้างความตะลึง ตะงันอย่างคาดไม่ถึง เป็นไปได้ยังไงกัน! ดูมาก็หลายรอบแล้วแต่ไฉนไม่เคยเห็นมาก่อน ก็สมกับที่ใครๆว่ากัน นี่เป็นหนังที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ Alfred Hitchcock

Psycho ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อเดียวกันของ Robert Bloch ตีพิมพ์ปี 1959 เรื่องราวได้แรงบันดาลใจจากฆาตกรต่อเนื่องโรคจิต Ed Gein ที่อาศัยอยู่ในเมือง Wisconsin, ลักษณะของนิยาย จะแบ่งออกเป็นบทๆ เริ่มต้นสร้างตัวละครขึ้นมา เน้นผู้หญิง ให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกหลงรัก ชื่นชอบ แล้วพวกเธอจะถูกฆ่าทิ้งอย่างไร้เยื่อใย เห็นว่านิยายทั้งเล่มก็เป็นแบบนี้ หญิงสาวกี่คนก็ไม่รู้ที่ถูกฆ่า จนฆาตกรถูกจับได้และค้นพบว่าแท้จริงเขาเป็นอะไร

คนที่แนะนำ Hitchcock ให้รู้จักกับนิยายเล่มนี้คือ Peggy Robertson ผู้ช่วยส่วนตัวของเขา ที่ได้เห็นบทวิจารณ์ของหนังสือเป็นไปในทางบวก เลยแนะนำให้กับ Hitchcoock ได้อ่านและตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงมาในราคา $9,500 เหรียญ, ก่อนหน้านี้ Hitchcock ทำหนังใหญ่ทุนสูงมา 2 เรื่องติดคือ Vertigo (1958) และ North by Northwest (1959)

ซึ่งครานี้ยื่นขอเสนอให้ Paramount Picture แต่ด้วยความที่พล็อตหนังไม่เป็นที่ต้องการของสตูดิโออย่างยิ่ง Hitchcock จึงต่อรองยอมลดค่าตัวลง ไม่คัดเลือกนักแสดงดังๆ ถ่ายด้วยภาพขาวดำ ตัดงบไปมาจนเหลือทุนสร้างเพียง $800,000 กว่าเหรียญ ทำให้ Paramount ยอมออกทุนและเป็นผู้จัดจำหน่าย หนังฟรี

Psycho turns 60 – Hitchcock's famous fright film broke all the rules

สำหรับการดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ นักเขียนคนแรกคือ James P.Cavanagh ที่พอร่างบทหนังเสร็จ ส่งไปพิจารณาก็ถูกปฏิเสธ เพราะ Hitchcock รู้สึกเหมือนกำลังอ่านนิยายสยองขวัญขนาดสั้นหลายๆเรื่องอยู่, ภายหลังได้พบกับ Joseph Stefano ที่แม้เพิ่งจะเริ่มเข้าวงการ ได้พัฒนาบทหนังมาแค่เรื่องเดียว แต่ทั้งสองคุยกันถูกคอ จึงได้รับการว่าจ้างให้ดัดแปลงทันที,

แทนที่จะเล่าทุกเรื่องราว ทุกตัวละคร ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิยาย Stefano เลือกนำเอาเรื่องราวของหญิงสาวคนเดียวที่ชื่อ Mary (ในหนังเปลี่ยนเป็น Marion) ที่มีบทบาทเพียง 2 บท มาขยายให้กลายเป็นหนังครึ่งเรื่อง และแทนที่จะเล่าให้เป็นเหมือนสารคดีของฆาตกรโรคจิต ก็เปลี่ยนเป็นให้ผู้ชมรู้สึกลุ้นระทึก เหมือนกำลังดูเรื่องราวลึกลับ ไขปริศนา และกำลังมองหาคำตอบ ดูหนังฟรี

ในวันแรกของกองถ่าย Hitchcock ให้ทีมงานทุกคนยกมือขึ้นทำสัญญา (เหมือนสาบาน) ว่าจะไม่เปิดเผยเรื่องราวของหนังให้คนนอกได้รับรู้, เห็นว่าตอน Hitchcock ได้สิทธิ์ในการดัดแปลงนิยาย ก็กวาดซื้อหนังสือที่วางขายทั้งหมดมาเก็บตุนไว้ ให้ผู้คนรู้ได้ตอนจบน้อยที่สุด, และตอนหนังออกฉาย ก็มีโฆษณาตัวหนึ่งที่บอกว่า ‘อย่าสปอยหนังเรื่องนี้ให้คนอื่นฟัง’ (Do not reveal the surprises!) เอาว่าผมคงไม่ต้องเตือนกันอีกนะครับ

สำหรับ Anthony Perkins หลังจากหนังเรื่องนี้เขาก็กลายเป็น Typecasted คือไม่มีใครจ้างให้เล่นบทอื่นได้อีกเลย เพราะการแสดงของเขาในหนังเรื่องนี้ กลายเป็นภาพติดตาผู้ชมอย่างมาก เห็นจากหนังเรื่องอื่นก็ คนจะคิดว่าเขาเป็นฆาตกรโรคจิต, กระนั้น Perkins ก็ไม่เสียใจที่รับบทนี้นะครับ บอกว่า ต่อให้รู้ว่าเส้นทางในวงการจะจบสิ้นลงเลยก็ตาม แต่การได้อยู่ในหนังระดับตำนานเรื่องนี้ ครั้งเดียวในชีวิตก็มีค่าจริงๆ ดูหนังออนไลน์

กับฉากที่ผมชอบที่สุด นี่เป็นขณะที่ Norman หลังจากถกเถียงกับแม่เพื่อเชิญ Marion ไปกินข้าวเย็นที่บ้านด้วยกัน แต่แม่ไม่อนุญาติ เขาเลยยกถาดน้ำและขนมปังมาให้, ขณะที่ทั้งสองคุยกัน ‘No…mother…my mother…what is the phrase? She isn’t quite herself today.’ เสียงพูดของ Norman ตะกุกตะกัก ถ้าสังเกตให้ดีเราจะเห็นภาพใบหน้าของเขาสะท้อนกับกระจกจางๆ นี่แสดงถึง การมี 2 ตัวตนในคนๆเดียว,

ฉากลักษณะนี้มีเยอะมากในหนังนะครับ กระจกที่สะท้อนตัวตนของตัวละคร แต่ที่ผมชื่นชอบช็อตนี้ที่สุด เพราะ คำพูด mother ที่ซ้ำ 2 รอบ มันสื่อถึง Marion ได้ด้วย, กับมุมมองการดำเนินเรื่อง ที่ครึ่งแรกเป็น Marion ครึ่งหลังเป็น Norman นี่แสดงถึง 2 เรื่องราว 2 ตัวละครหลักในหนัง 1 เรื่อง ซึ่งก็คือ 2 ตัวตนใน Norman ครึ่งหนึ่งคือแม่ อีกครึ่งหนึ่งคือเขา มีคนหนึ่งต้องตาย เช่นกันกับในจิตใจของ Norman ที่ตอนจบเหลือเพียงคนเดียว